วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

6#จำกัดการใช้ 3 สารเคมีเกษตร จะซื้อจะขาย ต้องมีใบอนุญาตพิเศษ

จำกัดการใช้ 3 สารเคมีเกษตร จะซื้อจะขาย ต้องมีใบอนุญาตพิเศษ


ในที่สุดร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับมาตรการจำกัดการใช้สารเคมี 3 ชนิด พาราควอต ไกลโฟเซส และ คลอร์ไพริฟอส ที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติให้กรมวิชาการเกษตร ไปทำการยกร่างฯ ได้คลอดออกมาเป็นรูปเป็นร่างให้เห็นกันแล้ว
แต่คณะกรรมการวัตถุอันตราย จะเห็นชอบกับที่จะนำมาใช้ด้วยหรือไม่ ยังเป็นที่ต้องรอกันอีกต่อไป
สรุปสาระสำคัญของร่างฉบับนี้...ได้แยก พาราควอต ไกลโฟเซส และคลอร์ไพริฟอส ให้เป็นสารชนิดพิเศษ ที่แยกออกมาจากสารเคมีทางการเกษตรชนิดอื่นๆ และต้องจัดพื้นที่วางขายแยกจากวัตถุอันตรายชนิดอื่นๆให้เห็นชัดเจน
คนซื้อ คนขาย ร้านค้า คนนำไปใช้ คนรับจ้างพ่น รวมทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า นอกจากจะต้องขออนุญาตพิเศษแล้ว ยังต้องผ่านการอบรม และต้องอบรมทุกๆ 2 ปี
จะไม่สามารถซื้อขายกันได้แบบง่ายๆ เหมือนที่ผ่านมา
ที่สำคัญ สารกำจัดวัชพืช พาราควอต และ ไกลโฟเซส จะใช้ได้เฉพาะกับพืช 6 ชนิด อ้อย, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, มันสำปะหลัง, ข้าวโพด และ ไม้ผล ที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น
ส่วนสารกำจัดแมลงศัตรูพืช คลอร์ไพริฟอส ให้ใช้ได้เฉพาะ ไม้ผล ไม้ดอก และ พืชไร่
สารทั้ง 3 ชนิด ห้ามนำไปใช้ในแปลงปลูกผัก พืชสมุนไพร พื้นที่ต้นน้ำ และพื้นที่สาธารณะ
ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัด อบต. เป็นผู้มีอำนาจตรวจสอบการใช้วัตถุอันตราย ทุกอย่างมีผลบังคับใช้ในระยะเวลา 90 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หลังจากที่ได้เห็นร่างฯที่ออกมา ฟากฝั่งเกษตรกรให้ความเห็นติงในเรื่องกรอบเวลาในการอบรมเกษตรกรทั่วประเทศกว่า 20 ล้านราย ในระยะเวลา 90 วันคงเป็นไปไม่ได้ จึงเสนอให้กรมวิชาการเกษตรขยายเวลาออกไป เพราะหากบังคับใช้มาแล้วไม่สามารถปฏิบัติได้ เกษตรกรจะมีความผิด
นอกจากนั้น การแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัด อบต. เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบนั้น บางคนอาจขาดองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรม ซ้ำต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการอบรมก่อนปฏิบัติงานจริง หน้าที่นี้จึงสมควรเป็นของบุคลากรกระทรวงเกษตรฯเอง อาทิ เกษตรตำบล เพราะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้เป็นอย่างดี
สำคัญที่สุดเรื่องราคา เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา หลังกลุ่มเอ็นจีโอมีการขับเคลื่อนให้แบนสารเคมี 3 ชนิด ส่งผลให้สารเคมีดังกล่าวมีราคาแพงขึ้นมาตลอด ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนสูงขึ้น สูญเสียรายได้ไปปีละ 1,500 ล้านบาท จึงเสนอให้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด เป็นสินค้าที่ต้องมีการควบคุมราคา.

ที่มา : https://www.thairath.co.th

5#สารเคมีในชีวิตประจำวันที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง!

สารเคมีในชีวิตประจำวันที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง!

จากการศึกษาของ Winthrop University Hospital and Kaiser Permanente Southern California พบว่า แม่ท้องที่มีระดับของสารเคมีพลาสติก (Bisphenol A หรือ BPA) ในโลหิตสูงขึ้น มีแนวโน้มที่จะคลอดก่อนกำหนด
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Ramkumar Menon มหาวิทยาลัย The University of Texas Medical Branch (UTMB) สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “ผู้หญิงมีการสัมผัสสาร BPA อย่างต่อเนื่อง เพราะมันใช้ในการผลิตและการเคลือบผิวของภาชนะบรรจุอาหารและมันสามารถปนเปื้อนลงไปในอาหารได้ เมื่อได้รับความร้อนจากเตาไมโครเวฟ หรือแหล่งความร้อนอื่นๆ”
และยังบอกเพิ่มเติมว่า “ในความเป็นจริง BPA ใช้กันอย่างแพร่หลาย ผู้หญิงเกือบทุกคนสัมผัสสารนี้มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันที่มีสารเหล่านี้อย่างแพร่หลาย และผลการวิจัยของเราที่พบว่า ผู้ป่วยทุกรายมีระดับของการสัมผัส ชี้ให้เห็นว่า การสัมผัสกับพลาสติกที่มีสาร BPA เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก”
นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบอีกว่า การวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดจากหญิงตั้งครรภ์เมื่อพวกเขาได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อทำการคลอดบุตร และจากน้ำคร่ำของทารกในครรภ์ที่เก็บรวบรวมในการคลอด พบระดับความเข้มข้นของสาร BPA เพิ่มขึ้น มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการคลอดก่อนกำหนด โดยผลการวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Maternal-Fetal and Neonatal Medicine
สารเคมีอีก 3 ชนิดที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงตั้งครรภ์
1. สารพาทาเลต (Phthalates)
เป็นสารเคมีที่ใช้ในการเพิ่มความทนทาน ความยืดหยุ่น และความโปร่งใสของพลาสติก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสารเคมีที่ขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ หากทารกที่อยู่ในครรภ์ หรือเกิดมาใหม่ๆ ได้รับสารชนิดนี้จะมีผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ทั้งชายและหญิง ทำให้เกิดรูผิดปกติที่อวัยวะเพศชาย หรือมีอัณฑะเล็ก ตัวอสุจิน้อย หรือทำให้ผู้หญิงไม่มีประจำเดือนจากรังไข่ที่ผิดปกติ
2. ยากันยุง ยาฆ่าแมลง
ยาฆ่าแมลง สารเคมีที่ประกอบด้วยยาฆ่าแมลง ที่ใช้ในการทำลายระบบประสาทของแมลงและทำให้แมลงตาย คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยงสารเคมีเหล่านี้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบประสาทของลูกน้อยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
3. สารไตรโคลซาน (Triclosan)
ไตรโคลซานเป็นส่วนผสมที่พบบ่อยในสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไตรโคลซาน และไตรโคลคาร์บาน เนื่องจากมีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารเคมีเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดความผิดปกติในด้านพัฒนาการและการเจริญพันธุ์.
ที่มา : https://www.thairath.co.th

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562

4# กระบะบรรทุกสารเคมีรั่วไฟลุก! คนขับจอดรถหนีตาย-คาดเคมีรั่วเจอความร้อนจึงปะทุ

กระบะบรรทุกสารเคมีรั่วไฟลุก! คนขับจอดรถหนีตาย-คาดเคมีรั่วเจอความร้อนจึงปะทุ

         กระบะบรรทุกเคมีน้ำหนัก 3 ตัน ไฟลุกท่วมกลางถนน คนขับวิ่งหนีตาย เผยก่อนเกิดเหตุมีน้ำรั่วออกมาจากกระบะบรรทุก จากนั้นมีควันพุ่งตามมา ก่อนจอดรถเจอไฟลุกท่วม คาดเคมีทำปฏิกิริยากับโลหะ
         (15 มี.ค. 62)  ผู้สื่อข่าวรายงานกรณีเกิดเหตุระทึก เมื่อจู่ๆ มีรถกระบะโตโยต้า รีโว่ สีขาว ทะเบียน กทม. ที่บรรทุกสารเคมีHYDROGEN PEROXIDE 50% จำนวน 100 แกลลอน น้ำหนัก แกลลอนละ 30 กิโลกรัม น้ำหนักรวม 3 ตัน วิ่งมาตามถนนสุขุมวิทฝั่งมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ ใกล้กับสามแยกปู่เจ้าสมิงพราย ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรราการ
         โดยได้เกิดไฟลุกไหม้บริเวณช่วงท้ายกระบะที่มีหลังคาอะลูมิเนียมปิดทึบ ทำให้รถกระบะคันดังกล่าวเสียหาย และมีถังเคมี HYDROGEN PEROXIDE 50% บางส่วนเสียหาย
         เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจากเทศบาลสำโรงเหนือ ใช้รถน้ำ 1คัน ฉีดน้ำสกัดประมาณ 30 นาที เพลิงจึงสงบ แต่เนื่องจากจุดเกิดเหตุเป็นถนนสายหลัก จึงทำให้การจราจร บนถนนสุขุมวิท ติดขัดยาวกว่า 3 กิโลเมตร
         ทางเจ้าหน้าที่ จึงต้องรีบเคลื่อนย้ายรถบรรทุกเคมีดังกล่าวออกจากผิวการจราจร ไปอยู่ในที่ปลอดภัย นอกจากนี้ที่เกิดเหตุ ยังมีสารเคมีรั่วออกจากแกลลอน หยดลงบนพื้นถนน เกิดควันสีขาวเข้ม เมื่อเข้าใกล้จะมีอาการแสบ และคันที่ผิวหนังด้วย ทางเจ้าหน้าที่ฯ จึงกันบุคคลไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้าใกล้โดยเด็ดขาด
       นายเจนภพ อายุ 24 ปี คนขับรถกระบะเล่าว่า ตนรับเคมีทั้งหมดมาจาก ซอยสุขสวัสดิ์ 49 นำไปส่งลูกค้าจังหวัดจันทบุรี โดยระหว่างทาง ตนเห็นมีของเหลวไหลจากหลังคากระบะลงมาใส่กระจกหน้ารถ ซึ่งตนก็เริ่มสงสัยว่า คือ น้ำอะไร แต่ก็ยังขับรถไปต่อ แต่ขับต่อไปได้เพียงเล็กน้อยก็มีควันพุ่งออกมาจากตู้ทึบด้านหลัง ตนจึงจอดรถลงไปเปิดประตูด้านหลัง ก็มีควันพุ่งสวนออกมาอย่างแรงและเกิดเปลวไฟขึ้นมาทันที ตนจึงรีบวิ่งหนีตายออกไปจากรถ และโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ และโทรศัพท์แจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบ
       ในเบื้องต้น ทางเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากเคมีที่รั่วออกมาทำปฏิกิริยากับโลหะและอากาศ จนเกิดความร้อนแล้วติดไฟขึ้น  อย่างไรก็ตาม ก็ต้องรอทางเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานเข้าตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง ว่า เกิดจากสาเหตุใดกันแน่ พร้อมกับจะเชิญทางผู้ว่าจ้าง และเจ้าของสารเคมีมาสอบสวน ว่าเป็นสารเคมีอันตรายหรือไม่ มีการขนส่งที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่และตรวจสอบว่า สารเคมีดังกล่าวเป็นสารเคมีอันตรายเข้าข่ายที่จะต้องแสดงสัญลักษณ์วัตถุอันตรายข้างรถหรือไม่ หากพบว่ามีการกระทำผิดกฎหมายก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ที่มา : https://www.sanook.com

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ข้อสอบ PAT 2

























3# ทลายโกดังยาลดอ้วน แหล่งใหญ่สุดภาคเหนือ นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน


ทลายโกดังยาลดอ้วน แหล่งใหญ่สุดภาคเหนือ นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
ตำรวจจับมือสาธารณสุขปูพรมลุยค้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มุ่งทลายแหล่งกักเก็บสาร “ไซบูทรามีน” ต้นตอยาลดความอ้วนมรณะที่คร่าชีวิตเหยื่อบริสุทธิ์ไปแล้วหลายราย แฉแหล่งผลิตใหญ่นำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านด่านชายแดนด้าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ส่วนที่ จ.เชียงใหม่ เจอเส้นทางการเงินของผู้ต้องหา เชื่อมโยงกับโรงงานผลิตยาลดน้ำหนักใน จ.กาฬสินธุ์
ภายหลังมีผู้บริโภคเสียชีวิตถึง 2 ราย เนื่องจากสั่งซื้อยาลดความอ้วนผสมสาร “ไซบูทรามีน” ที่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทมาจากแม่ค้าทางออนไลน์ ทำให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้ตื่นตัว เข้าตรวจค้นจับกุมสารมรณะดังกล่าวอย่างเข้มงวด ความคืบหน้าในเรื่องนี้ เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 14 ก.ค. พล.ต.อ. วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร. นำกำลังร่วมกับ ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงราย เปิดยุทธการฟ้าสางขุดรากถอนโคนทลายเครือข่ายนำเข้าจำหน่ายยาลดความอ้วนมรณะ “ไซบูทรามีน” ในพื้นที่ จ.เชียงราย จุดแรกที่ตึกแถวข้างตลาดสดบุญยืน ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย พบยากันยุง กาแฟซองลดความอ้วน จำนวนมาก จุดต่อมาที่ตึกแถว 2 ชั้นให้เช่า เลขที่ 995/5-6 ซอยเทศบาล 5 หลังตลาดบุญยืนยึดสาร “สเตียรอยด์” บรรจุกระสอบสีขาวจำนวนมาก และพบขวดบรรจุยาเม็ดแคปซูลลดความอ้วน
จากนั้นไปตรวจค้นในตึกแถวฝั่งตรงข้าม พบถังบรรจุถุงของเหลวเป็นน้ำยา ถังละ 60 กก. กว่า 100 ถัง และเครื่องซีลกล่องกระดาษ 1 เครื่อง ต่อมากำลังเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นในโกดังเก็บของกลางตลาดดอยเวา อ.แม่สาย พบกล่องกระดาษบรรจุหลอดยาลดความอ้วน ซองยาย้อมผม ซองกาแฟลดความอ้วน ยาเม็ดแคปซูลลดความอ้วน แต่ละจุดที่เข้าตรวจค้นเจ้าหน้าที่ได้นำสารตั้งต้นและยาเม็ดตัวอย่างมาตรวจพิสูจน์ พบผลิตภัณฑ์ทุกชนิดมีส่วนผสมสารไซบูทรามีนทั้งสิ้น เจ้าหน้าที่ได้ตรวจยึดอายัดสินค้าทั้งหมดไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป
พล.ต.อ.วิระชัยเผยว่า ผลการเข้าตรวจค้นครั้งนี้พบของกลางที่มีส่วนผสมสารไซบูทรามีนเป็นจำนวนมาก และพบมากที่สุดตั้งแต่เกิดคดีนี้มา เชื่อว่าชายแดนแม่สาย จ.เชียงราย เป็นแหล่งนำเข้าสารไซบูทรามีนรายใหญ่ อีกทั้งเป็นต้นทางของการผลิตยาลดความอ้วน เจ้าหน้าที่จะได้แจ้งข้อกล่าวหา นำเข้า-มีไว้ในครอบครอง และมีไว้เพื่อผลิตยากับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีโทษจำคุกสูงถึง 20 ปี ส่วนจะแจ้งข้อหากับใครบ้าง ตำรวจกำลังรวบรวมหลักฐาน
วันเดียวกัน พ.ต.อ.สุคนธ์ ศรีอรุณ รอง ผบก.ภ.จ.เชียงใหม่ ร่วมกับ พ.ต.อ.ณฐภณ แก้วกำเนิด ผกก.สภ.แม่โจ้ พ.ต.ต.อภิชัย พันธุ์คงชื่น สว.สส. สภ.แม่โจ้ พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงใหม่ บุกทลายโรงงานผลิตยาลดความอ้วน และอาหารเสริมความงามในบ้านเลขที่ 178 หมู่บ้านโชควารี หมู่ 3 ต.หนองจ๊อม อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ยึดของกลางยาลดความอ้วน อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม สารผสม อุปกรณ์การผลิต และบรรจุภัณฑ์จำนวนมาก มูลค่าหลายสิบล้านบาท จับกุมผู้ต้องหา 2 คน คือ นายกันตวรรน รังสิมาหริวงศ์ อายุ 39 ปี และ น.ส.สุธารัตน์ ปานพรม อายุ 30 ปี นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.แม่โจ้ ดำเนินคดีในเรื่อง พ.ร.บ.อาหารและยา ทั้งนี้ หากตรวจพบมีการใช้สารไซบูทรามีนที่มีอันตราย จะแจ้งข้อหาเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เนื่องจากตรวจสอบเส้นทางการเงินผู้ต้องหา พบเชื่อมโยงกับโรงงานผลิตยาลดความอ้วนในพื้นที่ อ.นามน จ.กาฬสินธุ์
จ.ตาก พ.ต.ท.ไชยวิญญ์ อินทรทรัพย์ รอง ผกก. สส. สภ.แม่สอด นำกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จ.ตาก นำหมายศาลเข้าค้นเป้าหมาย 3 จุด บ้านเลขที่ 596/5 และ 596/6 หมู่ 2 ต.แม่ตาว อ.แม่สอด บริษัทเอ็มแอนด์ที แม่สอดอิม-เอ็กซ์ สาขา 1 บ้านเลขที่ 386 หมู่ 1 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด และบ้านเลขที่ 103 หมู่ 6 ต.แม่กาษา อ.แม่สอด จากการตรวจค้นในสถานที่แต่ละแห่ง พบสารบางอย่างจำนวนมาก พร้อมแคปซูลเปล่าที่ใช้บรรจุยา เจ้าหน้าที่ได้ยึดเป็นของกลางนำมาที่ สภ.แม่สอด รวมทั้งเชิญบุคคลผู้อยู่ในสถานที่ทั้ง 3 แห่ง มาสอบสวนหาความเชื่อมโยงว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการผลิตยาลดความอ้วนหรือไม่ เนื่องจากทั้ง 3 จุดเป็นบริษัทส่งออกยาและอุปกรณ์ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
จ.ระยอง พ.ต.ท.ธีระพงศ์ วรการพงศ์ รอง ผกก.สส.สภ.เมืองระยอง นำชุดสืบสวนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จ.ระยอง เข้าค้นร้าน POR’S Dress & Fashion ขายเสื้อผ้าแฟชั่น ไม่มีเลขที่ ถนนราษฎร์บำรุง ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง มี น.ส.ปราณี รัตนวิจิตร อายุ 28 ปี เจ้าของร้านนำค้น บนชั้น 2 ของร้านพบอาหารเสริม ยาลดน้ำหนัก และยาผิวขาวจำนวนมาก รวมกว่า 30,000 เม็ด เบื้องต้นไม่พบใบอนุญาตและฉลาก อย. น.ส.ปราณีอ้างว่า ยาลดน้ำหนักและอาหารเสริมสั่งซื้อตัวยามาจากทางภาคเหนือ นำมาบรรจุใส่แคปซูลเอง ก่อนส่งให้กับลูกค้าที่สั่งซื้อทางออนไลน์ในราคาเม็ดละ 3 บาท เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่ามีส่วนผสมของสารไซบูทรามีนหรือไม่ หากพบจะแจ้งข้อหาต่อไป
ที่มา : https://www.thairath.co.th

2# กปภ.ชี้แจงน้ำประปามีสีขุ่นดำ ที่ อ.เมืองเลย เกิดจากเติมสารเคมีไม่เหมาะสมกับคุณภาพน้ำ


กปภ.ชี้แจงน้ำประปามีสีขุ่นดำ ที่ อ.เมืองเลย เกิดจากเติมสารเคมีไม่เหมาะสมกับคุณภาพน้ำ
น้ำเสีย ชาวบ้านใน ต.สนามชัย อ.สทิงพระ จ.สงขลา เป็นห่วงท้องทะเล เนื่องจากมีการแอบปล่อยน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงกุ้งชายฝั่ง ลงสู่ทะเล น้ำที่เคยใสสะอาด มีสีดำขุ่น เป็นการทำลายระบบนิเวศ ที่สำคัญกระทบต่อการประกอบอาชีพประมง อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบด่วน...
น่าสงสัย ใน ซอยเทศบาลบางปู 47 ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ ชาวบ้านสงสัย ภายในซอยแยก 14/1 เลยโรงเรียนไป มีแนวรั้วเมทัลชีตล้อมไว้ รถวิ่งเข้า-ออกอย่างพลุกพล่านตลอด 24 ชั่วโมง ส่งเสียงดังเหมือนกับทำอะไรกันบางอย่าง ฝาก สภ.เมืองสมุทรปราการ หรือหน่วยงานของทหาร เข้าไปพิสูจน์ที ว่ามีอะไรดี...
ปรับปรุง ผู้ใช้ศาลาผู้โดยสารแจ้งว่า บริเวณใต้สะพานวงแหวนเข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม จากการปรับปรุงถนนพระราม 2 ที่เพิ่งทำเสร็จถนนเรียบร้อยดี แต่ที่น่าจะปรับปรุงคือศาลาที่พักผู้โดยสารหลังเก่า เพราะอยู่ต่ำจากถนนมากเหมือนกับเป็นหอไตรกลางน้ำ ผู้โดยสารเดินศีรษะแทบจะชนหลังคา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขด้วย...
เสียงดัง ผู้อาศัยอยู่ใน ซอย 10 เทียนทะเล เขตบางขุนเทียน แจ้งว่า ทุกวันตั้งแต่ช่วงเย็นเป็นต้นมา ที่ กลางซอยมีร้านค้าแห่งหนึ่ง มีกลุ่มวัยรุ่นตั้งวงดื่มสุรา จนดึกๆดื่นๆ พอเมาได้ที่ ขว้างขวด ขว้างแก้วกลางถนน เปิดเพลงเสียงดัง ชาวบ้านไม่ได้หลับไม่ได้นอน พอบอกให้เบาเสียงลง ก็ถูกด่า ผกก.สน.ท่าข้าม ส่งลูกน้องช่วยชาวบ้านที...
กองสื่อสารองค์กร การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ชี้แจงกรณี น้ำประปาหมู่บ้านที่บ้านสามแยก–ปากภู อ.เมืองเลย มีสีขุ่นดำนั้น ตรวจสอบแล้วเป็นประปาหมู่บ้าน กปภ.เลยลงพื้นที่พบว่าเกิดจากเติมสารเคมีไม่เหมาะสมกับคุณภาพน้ำ ได้แนะนำ ทำความเข้าใจ รวมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมแก้ไขปัญหาแล้ว...
ที่มา https://www.thairath.co.th

1# ใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสร้างยาปฏิชีวนะใหม่


ใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสร้างยาปฏิชีวนะใหม่


ธรรมชาติถือเป็นขุมทรัพย์ใหญ่ของสารประกอบทางเคมี ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บหลากหลายชนิด ทว่าสารเคมีที่น่าสนใจที่สุดมักมาจากสิ่งมีชีวิต ทว่านำมาใช้งานได้ยากในห้องปฏิบัติการทดลอง โดยเฉพาะสารประกอบเคมีประเภทพอลิคีไทด์ (polyketides) คือกลุ่มสารเคมีที่สำคัญซึ่งส่วนใหญ่ผลิตโดยแบคทีเรียในดินและจุลินทรีย์อื่นๆ
เมื่อเร็วๆ นี้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ เผยความสำเร็จในการสร้างแบคทีเรียลำไส้ที่พบบ่อยเพื่อผลิตยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ด้วยการใช้หุ่นยนต์เข้าช่วย ยาปฏิชีวนะดังกล่าวรู้จักกันในชื่อพอลิคีไทด์ คลาสทู (polyketides Class II) เกิดจากแบคทีเรียในดินตามธรรมชาติและมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย อันมีความสำคัญในอุตสาหกรรมยาสมัยใหม่ที่เชื่อว่าจะนำไปใช้ต่อสู้กับโรคติดเชื้อและโรคมะเร็งได้
การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นศักยภาพของวิธีการรวมเครื่องจักรกลการผลิตแบคทีเรียเข้ากับเอนไซม์จากพืชและเชื้อรา จนเกิดความเป็นไปได้ที่จะสร้างสารประกอบทางเคมีใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในธรรมชาติ และไม่เพียงช่วยให้นักวิจัยทดลองสารพอลิคีไทด์ใหม่ได้แบบอัตโนมัติ แต่ยังจะสามารถเขียนลำดับดีเอ็นเอของเส้นทางการสังเคราะห์ยาปฏิชีวนะได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยเผยว่าน่าจะใช้เวลาราว 1 ปีในการสร้างและทดสอบยาปฏิชีวนะที่อาจเกิดขึ้นได้ถึงสิบชนิด.
ที่มา https://www.thairath.co.th

3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ

3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ
จากการที่สารประกอบไอออนิกสารโคเวเลนต์และโลหะมีสมบัติเฉพาะตัวมาว่าการที่ต่างกันจึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ตามความเหมาะสม เช่น
- แอมโมเนียมคลอไรด์และซิงค์คลอไรด์ เป็นสารประกอบไอออนิกที่สามารถนำไฟฟ้าได้จากการแตกตัวเป็นไอออนเมื่อละลายน้ำจึงนำไปใช้เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ในถ่านไฟฉาย
- พอลิไวนิลคลอไรด์หรือ PVC เป็นสารโคเวเลนต์ที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้จึงเป็นฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มสายไฟฟ้า
- ซิลิกอนคาร์ไบด์ เป็นสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีจุดหลอมเหลวสูงและมีความแข็งแรงมากจึงนำไปใช้ทำเครื่องบด
- ทองแดงและอะลูมิเนียม เป็นโลหะที่นําไฟฟ้าได้ดีจึงนำไปใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าอลูมิเนียมและเหล็กเป็นโลหะที่นําความร้อนได้ดีจึงนำไปทำภาชนะสำหรับประกอบอาหาร เช่น หม้อ กะทะ

3.4 พันธะโลหะ

3.4 พันธะโลหะ
โลหะบางชนิดเส้นทองแดง เหล็กอะลูมิเนียมมีสมบัติบางประการคล้ายกับแสดงว่าสารเหล่านี้มีการยึดเหนี่ยวกันระหว่างอนุภาคที่เหมือนกันและอะตอมธาตุโลหะสร้างพันธะเคมีระหว่างกันอย่างไรเหมือนหรือต่างกัน จากพันธะไอออนิกและโคเวเลนต์หรือไม่
3.4.1 การเกิดพันธะโลหะ
จากที่ทราบแล้วว่าโลหะส่วนใหญ่มีสถานะเป็นของแข็งมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงผิวมันวาวสามารถนำไฟฟ้าและความร้อนได้ดีจะสมบัติดังกล่าวจะเห็นว่าโลหะมีสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิกและมีสมบัติบางประการที่แตกต่างจากสารประกอบไอออนิกเช่นการนำไฟฟ้าและการนำความร้อนได้ดีในสถานะของแข็งผิวมันวาวและสมบัติส่วนใหญ่ต่างจากพันธะโคเวเลนต์ซึ่งแสดงว่าโลหะน่าจะยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะที่แตกต่างจากพันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนต์การที่อะตอมของโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่างการยึดเหนี่ยวระหว่างวาเลนอิเล็กตรอนกับโปรตอนในนิวเคลียสจึงน้อยให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนของแต่ละอะตอมสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระไปทั่วทั้งชิ้นโลหะและเกิดการยึดเหนี่ยวกับโปรตอนในนิวเคลียสทุกทิศทุกทางการยึดเหนี่ยวนี้เรียกว่าพันธะโลหะการเกิดพันธะโลหะแสดงได้ด้วยแบบจำลองทะเลอิเล็กตรอน
3.4.2 สมบัติของโลหะ
1.โลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
2.โลหะมีผิวมันวาวและสามารถสะท้อนแสงได้
3.โลหะนำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี นอกจากนี้โลหะยังสามารถตีให้ออกเป็นแผ่นและดึงให้เป็นเส้นด้าย 

3.3 พันธะโคเวเลนต์

3.3 พันธะโคเวเลนต์
สารที่เกิดจากธาตุอโลหะรวมตัวกันเช่นแก๊สออกซิเจนแก๊สไนโตรเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ การยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมของธาตุในสารเหล่านี้เป็นพันธะไอออนิกหรือไม่เพราะเหตุใด
3.3.1 การเกิดพันธะโคเวเลนต์
ธาตุอโลหะมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงดังนั้นเมื่อรวมตัวกันจะไม่มีอะตอมใดยอมเสียอิเล็กตรอน อะตอมจึงยึดเหนี่ยวกันโดยใช้เวเลนซ์เล็กตรอนร่วมกันเรียกการยึดเหนี่ยวในว่าพันธะโคเวเลนต์แล้วนะสารที่อะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ว่าสารโคเวเลนต์ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปโมเลกุลโดยการเกิดพันธะในโมเลกุลโคเวเลนต์ส่วนใหญ่เป็นไปตามกฎออกเตตดังตัวอย่าง
คลอรีนมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 ดังนั้นข้อดีทั้ง 2 อะตอมจะใช้เวลาดิจิตอลร่วมกัน 1 คู่เพื่อให้มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 ตามกฎออกเตต เขียนแผนภาพและสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสแสดงการเกิดพันธะได้ดังนี้


พันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุลแก๊สคลอรีนเกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่พันธะนี้เรียกว่าพันธะเดี่ยว ด้วยอิเล็กตรอนคู่ที่ใช้ร่วมกันในการเกิดพันธะเรียกว่าอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะส่วนอิเล็กตรอนคู่ที่ไม่ได้เกิดพันธะเรียกว่าอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวซึ่งในโมเลกุลแก๊สคลอรีนมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 1 คู่และมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 6 คู่



อีกทั้งยังมีการเกิดพันธะในโมเลกุล ออกซิเจนแต่ละอะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 6 ดังนั้นออกซิเจนทั้ง 2 อะตอมจะใช้เวทีเล็กตอนร่วมกัน 2 คู่เพื่อให้เป็นไปตามกฎออกเตต เกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะคู่ นอกจากนี้พันธะโคเวเลนต์ยังอาจเป็นพันธะสาม เช่นในโมเลกุลแก๊สไนโตรเจนไนโตรเจนแต่ละอะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 5 ดังนั้นไนโตรเจนทั้ง 2 อะตอมจะใช้เวลาที่เล็กตอนร่วมกัน 3 คู่เพื่อให้เป็นไปตามกฎออกเตต
ในโครงสร้างลิวอิส อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะสามารถแสดงได้ด้วยเส้นพันธะในขณะที่อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวแสดงด้วยจุดคู่เสมอเช่นโมเลกุลแอมโมเนียมีเส้นพันธะ N-H 3 พันธะ แทนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ ในขณะที่อีเล็คตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่แสดงด้วยจุดคู่บนอะตอมไนโตรเจนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวนี้สามารถสร้างพันธะกับ H^+ เกิดเป็นแอมโมเนียมไอออน จำนวนอิเล็กตรอนรอบอะตอมกลางยังคงเป็นไปตามกฎออกเตต ในกรณีที่พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นมาจากอะตอมไนโตรเจนเท่ากัน แสดงดังนี้


สารโคเวเลนต์บางชนิดอาจมีอะตอมกลางที่มีจำนวนอิเล็กตรอนล้อมรอบไม่เป็นไปตามกฎออกเตต
3.3.2 สูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์
สูตรโมเลกุลของสารโคเวเลนต์โดยทั่วไปเขียนสัญลักษณ์ของธาตุองค์ประกอบโดยเรียงลำดับจากค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยไปมากพร้อมทั้งระบุจำนวนอะตอมของธาตุที่มีจำนวนอะตอมมากกว่า 1 อะตอมยกเว้นสามารถชนิดเช่น NH3 และ CH4 ทั้งที่ถ้าไนโตรเจนและธาตุคาร์บอนมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงกว่าธาตุไฮโดรเจน
การเรียกชื่อสารโคเวเลนต์มีหลักการดังนี้
1.สารโคเวเลนต์ที่ประกอบด้วยธาตุชนิดเดียวกันเรียกตามชื่อท่านนั้นซึ่งท่านเหล่านี้ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้องจึงนิยมเรียกชื่อโดยระบุสถานะด้วยเพื่อให้ทราบว่าเป็นการกล่าวถึงโมเลกุลที่ไม่ใช่อะตอมของธาตุเช่นแก๊สออกซิเจน
2.สารโคเวเลนต์ที่ประกอบด้วยธาตุ 2 ชนิดให้เรียกชื่อธาตุตามลำดับที่ปรากฏในสูตรโมเลกุลโดยเปลี่ยนพยางค์ท้ายเป็น -ide และระบุจำนวนอะตอมองค์ประกอบ ในโมเลกุลด้วยคำภาษากรีก ดังตาราง

ยกเว้นกรณีที่ธาตุและมีเพียงอะตอมเดียวไม่ต้องระบุจำนวนอะตอมของธาตุนั้น
การเรียกชื่อสารโคเวเลนต์ที่เป็นสารประกอบออกไซด์นอกจากเรียกชื่อสารตามหลักการข้างต้นแล้วยังนิยมเรียกชื่อสารโดยแต่ละตัวสุดท้ายของคำที่ระบุจำนวนอะตอมออก เช่น CO นิยมเรียกว่าคาร์บอนมอนอกไซด์ นอกจากนี้สารบางชนิดยังมีเพียงชื่อเล่นโดยไม่เป็นไปตามหลักการข้างต้นครบทุกประการเช่น HCl นิยมเรียกว่าไฮโดรเจนคลอไรด์ แทนที่จะเรียกว่าไฮโดรเจนมอนอคลอไรด์
3.3.3 ความยาวพันธะและพลังงานพันธะของสารโคเวเลนต์
อะตอมไฮโดรเจน 2 อะตอมเคลื่อนที่เข้ากันจะเกิดแรงดึงดูดระหว่างอิเล็กตรอนของอะตอมหนึ่งกับโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งขณะเดียวกันก็มีแรงผลักระหว่างโปรตอนกับโปรตอนและอิเล็กตรอนกับอิเล็กตรอนของอะตอมทั้งสองด้วย แรงดึงดูดทำให้พลังงานศักย์ลดลงแต่แรงผลักทำให้พลังงานศักย์เพิ่มขึ้น ทำให้พลังงานศักย์รวมลดลงแล้วเพิ่มขึ้นตามระยะห่างระหว่างนิวเคลียสโดยมีผลรวมพลังงานศักย์ต่ำที่สุดเมื่อระยะทางระหว่างนิวเคลียสทั้งสองเท่ากับ 74 พิโกเมตร ถ้าอะตอมเคลื่อนที่เข้าใกล้กันมากกว่านี้และหากจะมีมากกว่าแรงดึงดูดซึ่งทำให้พลังงานศักย์รวมเพิ่มขึ้น


                         จากรูประยะห่างระหว่างนิวเคลียสที่ทำให้พลังงานศักย์รวมต่ำที่สุดเรียกว่าความยาวพันธะ ในทางปฏิบัติความยาวพันธะได้จากการศึกษาการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ เมื่อผ่านโครงผลึกของสารหรือจากการวิเคราะห์สเปกตรัมของโมเลกุลสาร ซึ่งพบว่าความยาวพันธะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามขนาดอะตอมคู่ร่วมพันธะและการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันทำให้ความยาวพันธะโคเวเลนต์สั้นกว่าผลรวมของรัศมีอะตอมอิสระที่มาสร้างพันธะกันสำหรับอะตอมคู่ร่วมพันธะเดียวกันความยาวพันธะจะลดลงจากพันธะเดี่ยวพันธะคู่และพันธะสามตามลำดับอย่างไรก็ตามความยาวพันธะชนิดเดียวกันระหว่างอะตอมคู่เดียวกันอาจจะไม่เท่ากันในสารต่างชนิดกัน
                         ในการประมาณความยาวพันธะระหว่างอะตอมคู่หนึ่ง โดยทั่วไปนิยมใช้ความยาวพันธะเฉลี่ย การศึกษาความยาวพันธะของโมเลกุลโคเวเลนต์นำไปสู่การอธิบายการเกิดพันธะในโมเลกุลของสารโคเวเลนต์บางชนิดที่สามารถเขียนโครงสร้างลิวอิสตามกฎออกเตตได้มากกว่า 1 โครงสร้างเช่นโมเลกุลโอโซนมีโครงสร้างลิวอิส 2 โครงสร้างซึ่งประกอบด้วยพันธะเดี่ยวและพันธะคู่ระหว่างออกซิเจนที่ควรมีค่าความยาวพันธะไม่เท่ากัน แต่จากการศึกษาพบว่าความยาวพันธะระหว่างออกซิเจนมีค่าเท่ากับ 128 พิโกเมตรเพียงค่าเดียว ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ระหว่างความยาวพันธะ O-O (148 พิโกเมตร) และพันธะ O=O (121 พิโกเมตร) แสดงว่าพันธะทั้งสองในโมเลกุลโอโซนเป็นพันธะชนิดเดียวกันที่อาจอธิบายได้โดยทฤษฎี เรโซแนนซ์ ว่าอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 1 คู่เคลื่อนย้ายไปมาระหว่างอะตอมทั้ง 3 ทำให้เกิดโครงสร้างผสมระหว่าง 2 โครงสร้างการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะในโมเลกุลที่เขียนโครงสร้างลิวอิสได้มากกว่าหนึ่งแบบเรียกว่า เรโซแนนซ์ และเรียกโครงสร้างลิวอิสแต่ละแบบว่า โครงสร้างเรโซแนนซ์ โดยแสดงการเกิดเรโซแนนซ์ระหว่างโครงสร้างด้วยลูกศร 2 หัวและเรียกโครงสร้างผสมของโครงสร้างเรโซแนนซ์ทุกโครงสร้างว่าโครงสร้างเรโซแนนซ์ผสม ดังรูป


นอกจากความยาวพันธะแล้ว กราฟที่แสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจนและแสดงให้เห็นว่าโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจนมีพลังงานต่ำกว่าอะตอมไฮโดรเจน 436 กิโลจูลต่อโมล หมายความว่าการทำให้โมเลกุลแก๊สไฮโดรเจน 1 โมเลกุลแยกออกเป็นอะตอมไฮโดรเจน 2 อะตอมต้องใช้พลังงานอย่างน้อย 436 กิโลจูลต่อโมลในการสลายพันธะ ระหว่างอะตอมไฮโดรเจนดังสมการ

H2(g) + 436 kJ/mol ---> 2H(g)

ในทางกลับกัน อะตอมไฮโดรเจน 2 อะตอมสร้างพันธะระหว่างกันเกิดเป็นโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจน 1 โมเลกุลจะคายพลังงาน 436 กิโลจูลต่อโมล ดังนี้


2H(g) ---> H2(g) + 436 kJ/mol
พลังงานปริมาณน้อยที่สุดที่ใช้ในการสลายพันธะระหว่างอะตอมคู่ร่วมพันธะในโมเลกุลในสถานะแก๊สให้เป็นอะตอมเดี่ยวในสถานะแก๊สเรียกว่าพลังงานพันธะซึ่งส่วนใหญ่ใช้หน่วยเป็นกิโลจูลต่อโมล
การประมาณพลังงานพันธะระหว่างอะตอมคู่หนึ่งโดยทั่วไปนิยมใช้พลังงานพันธะเฉลี่ยดังตาราง

                          จากตาราง จะเห็นว่าพันธะระหว่างคาร์บอนมีทั้งพันธะเดี่ยวพันธะคู่และพันธะสามซึ่งมีค่าพลังงานพันธะเป็น 346 614 และ 839 กิโลจูลต่อโมลตามลำดับ แสดงว่าพันธะสามแข็งแรงกว่าพันธะคู่และพันธะคู่แข็งแรงกว่าพันๆเดี่ยวและถ้าพิจารณาอะตอมคู่ร่วมพันธะๆเดียวกันของแท้ที่มีค่าพลังงานน้อยจะมีความยาวพันธะมาก นอกจากอะตอมคู่ร่วมพันธะเดียวกันแล้วความสัมพันธ์นี้ยังสามารถใช้เปรียบเทียบพันธะของธาตุในหมู่เดียวกันได้อีกด้วย
                         ปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสลายพันธะในสารตั้งต้นและการสร้างพันธะเกิดเป็นผลิตภัณฑ์โดยการสลายพันธะเป็นกระบวนการดูด (E1) พลังงานซึ่งมีค่าเป็นบวกและการสร้างพันธะจะมีค่าเป็นลบเป็นกระบวนการคายพลังงาน (E2) และพลังงานของปฏิกิริยา (เดลต้า H) คำนวณได้จากผลรวมของ

 E1 และ E2 เดลต้า H = E1 + E2 

                         ถ้าพลังงานที่ใช้สลายพันธะมีค่ามากกว่าพลังงานที่ใช้สร้างพันธะจะได้ เดลต้า H มีเครื่องหมายเป็นบวก แสดงว่าปฏิกิริยานั้นเป็นปฏิกิริยาดูดพลังงานในทางกลับกันถ้าพลังงานที่คายออกมาจากการสร้างสรรค์ๆมีค่ามากกว่าพลังงานที่ต้องใช้สลายพันธะ จะได้เดลต้า H มีเครื่องหมายเป็นลบ แสดงว่าปฏิกิริยานั้นเป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน
               3.3.4 รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ 
                       โมเลกุลโคเวเลนต์ที่ประกอบด้วยอะตอมมากกว่า 2 อะตอมนอกจากความยาวพันธะและพลังงานพันธะแล้วข้อมูลที่ใช้ในการอธิบายสมบัติของสารคือ รูปร่างโมเลกุล ในโมเลกุลของน้ำคาร์บอนไดออกไซด์แอมโมเนียและโบรอนไตรฟลูออไรด์มีรูปร่างเป็นโมเลกุลที่ต่างกันหรือไม่อย่างไรเนื่องจากโมเลกุลมีขนาดเล็กมากจึงไม่สามารถพิจารณารูปร่างโมเลกุลได้โดยตรงและสามารถศึกษาเกี่ยวกับรูปร่างโมเลกุลโดยการจำลองตำแหน่งของคู่อิเล็กตรอน ในการทดลอง ดังนี้

คลิกเพื่อเข้าดูการทดลองได้เลย : การจัดตัวของลูกโป่งกับรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์

จากกิจกรรม ในตอนที่ 1 ลูกโป่งแต่ละลูกซึ่งมีปริมาตรเท่ากันเมื่อนำมาผูกข้อติดกันพบว่าลูกโป่งแต่ละรูปผัดกันเกิดการจับตัวเป็นรูปร่างต่างๆที่สมมาตรในที่มีลูกโป่งเป็นตัวแทนของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะระหว่างอะตอมกลางและอะตอมล้อมรอบซึ่งอิเล็กตรอนเหล่านี้จะผลักกันด้วยแรงกระทำระหว่างประจุชนิดเดียวกันทำให้ได้คิดค่าของพันธะอยู่ห่างกันมากที่สุดเกิดเป็นรูปร่างโมเลกุลในลักษณะเดียวกันกับการจัดตัวของลูกโป่ง และในกิจกรรมตอนที่ 2 ลูกโป่งต่างสีใช้แทนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวซึ่งรูปร่างโมเลกุลพิจารณาจากตำแหน่งของอะตอมทั้งหมดโดยไม่นำตำแหน่งของอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวมาพิจารณา การคาดคะเนรูปร่างโมเลกุลจากโครงสร้างลิวอิสโดยอาศัยการผลักกันของอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอาจใช้ทฤษฎีการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์ (VSEPR) โดยทฤษฎีนี้มีหลักการว่าอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่ใกล้นิวเคลียสมากกว่าอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะดังนั้นรหัสระหว่างอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวด้วยกันจึงมีค่ามากกว่าแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะกับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว และมากกว่าแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะด้วยกัน
จากผลการทดลองกิจกรรมการจับตัวของลูกโป่งกับรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์สรุปรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ดังตาราง





3.3.5 สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
สารโคเวเลนต์ที่เกิดจากอะตอมชนิดเดียวกันเช่นแก๊สไฮโดรเจนมีการกระจายของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะระหว่างอะตอมทั้งสองเท่ากันทั้งๆที่เกิดขึ้นในลักษณะเช่นนี้จะเรียกว่าพันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้วและสารโคเวเลนต์ที่เกิดจากอะตอมต่างชนิดกันและมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีแตกต่างกันจะมีการกระจายของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะระหว่างอะตอมไม่เท่ากันเช่นไฮโดรเจนคลอไรด์มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะอยู่บริเวณอะตอมคลอรีนมากกว่าอะตอมไฮโดรเจนเพราะอะตอมคลอรีนมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากกว่าอะตอมไฮโดรเจนทำให้อะตอมของดีแสดงประจุไฟฟ้าค่อนข้างรถยนต์อะตอมไฮโดรเจนมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยกว่าแสดงประจุไฟฟ้าค่อนข้างบวก ที่เกิดขึ้นลักษณะนี้เรียกว่าพันธะโคเวเลนต์มีขั้ว การแสดงขั้วของพันธะอาจใช้สัญลักษณ์ เดลต้าบวก สำหรับอะตอมที่แสดงประจุไฟฟ้าค่อนข้างบวก และเดลต้าลบ สำหรับอะตอมที่แสดงประจุไฟฟ้าค่อนข้างลบหรืออาจใช้เครื่องหมายโดยให้หัวลูกศรหันชี้ไปในทิศของอะตอมที่แสดงประจุไฟฟ้าค่อนข้างลบส่วนท้ายลูกศร ที่มีลักษณะคล้ายเครื่องหมายบวกให้อยู่บริเวณอะตอมที่แสดงประจุไฟฟ้าค่อนข้างบวก


                      ของพันธะทำให้โมเลกุลอะตอมคู่ที่ประกอบด้วยธาตุชนิดเดียวกันเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วโมเลกุลอะตอมคู่ที่ประกอบด้วยธาตุต่างชนิดกันเป็นโมเลกุลมีขั้วและโมเลกุลโคเวเลนต์ที่ประกอบด้วยอะตอมมากกว่า 2 อะตอม และพันธะระหว่างครูอะตอมเป็นพันธะมีขั้วจะเป็นโมเลกุลมีขั้วหรือไม่อย่างไร สภาพขั้วของโมเลกุลที่ประกอบด้วยอะตอมมากกว่า 2 อะตอมพิจารณาจากการรวมสภาพขั้วของพันธะแบบเวกเตอร์ ซึ่งถ้าเวกเตอร์ หักหลังกันหมดจะทำให้โมเลกุลไม่มีขั้วแต่ถ้าเวกเตอร์แทนละกันไม่หมดโมเลกุลจะเป็นโมเลกุลที่มีขั้ว


                      โมเลกุลที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว และอะตอมล้อมรอบเหมือนกันทุกอะตอมเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วถึงแม้ว่าพันธะภายในโมเลกุลจะเป็นพันธะที่มีขั้วแต่เนื่องจากรูปร่างโมเลกุล


                      สำหรับโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหรือมีอะตอมล้อมรอบเป็นธาตุต่างชนิดกันส่วนใหญ่เป็นโมเลกุลมีขั้วเนื่องจากเวกเตอร์สภาพขั้วของพันธะหักล้างกันไม่หมด
                      โมเลกุลอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวส่วนใหญ่เป็นโมเลกุลแบบมีขั้วและมีบางชนิดอาจเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วเนื่องจากมีรูปร่างโมเลกุลแบบสี่เหลี่ยมแบนราบทำให้เวกเตอร์สภาพขั้วหักล้างกันหมดโมเลกุลอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวส่วนใหญ่เป็นโมเลกุลแบบมีขั้วและมีบางชนิดอาจเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วเนื่องจากมีรูปร่างโมเลกุลแบบสี่เหลี่ยมแบนราบทำให้เวกเตอร์สภาพขั้วหักล้างกันหมด
           3.3.6 แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลและสมบัติของสารโคเวเลนต์
                      ที่อุณหภูมิห้องสารโคเวเลนต์แต่ละชนิดอันอยู่ในสถานะที่แตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลหรือแรงแวนเดอร์วาลส์ โดยในสถานะของแข็งโมเลกุลอยู่ชิดกันจนไม่สามารถเคลื่อนที่ได้และมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากในสถานะของเหลวโมเลกุลสามารถเคลื่อนที่ได้แต่ยังคงอยู่ชิดติดกันและมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าในของแข็งส่วนในสถานะแก๊สโมเลกุลอยู่ห่างกันสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระและมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยมากจนถือว่าไม่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลดังนั้นการเปลี่ยนแปลงสถานะของสารจากของแข็งไปเป็นของเหลว หรือของเหลวไปเป็นแก๊สซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำลายงานยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโดยไม่มีการทำลายพันธะโคเวเลนต์ ซึ่งแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีค่าพลังงานน้อยกว่าพันธะโคเวเลนต์มากสามารถทำลายได้ด้วยการให้พลังงานความร้อนแก้สารจนกระทั่งโมเลกุลของสารมีพลังงานจลน์สูงพอที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะได้ดังนั้นสารแต่ละชนิดซึ่งมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่แตกต่างกันจะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดที่ต่างกันด้วย
                      นอกจากจุดหลอมเหลวของสารที่จะเกี่ยวข้องกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแล้วยังขึ้นอยู่กับการจัดเรียงโมเลกุลในของแข็งทำให้แนวโน้มของจุดหลอมเหลวอาจไม่สอดคล้องกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโดยตรง
                      แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเกี่ยวข้องกับขนาดของโมเลกุลและสภาพขั้วของโมเลกุลซึ่งแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีหลายชนิดและมีชื่อเรียกที่ต่างกันซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง 3 ชนิดที่สำคัญดังนี้ 
                      1.และแพร่กระจายลอนดอน แรงแพร่กระจายลอนดอน เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลไม่มีขั้วหรืออะตอมแก๊สมีสกุลซึ่งเป็นแรงอย่างอ่อนๆที่เกิดขึ้นจากการกระจายของอิเล็กตรอนในอะตอมขณะใดขณะหนึ่งซึ่งอาจไม่เท่ากันจึงทำให้สภาพขั้วชั่วขณะ แล้วเหนี่ยวนำให้โมเลกุลที่อยู่ติดกันเกิดขั้วตรงข้ามและมีแรงดึงดูดชั่วขณะ โดยแรงแผ่กระจายนี้เพิ่มขึ้นตามขนาดของโมเลกุลเนื่องจากโมเลกุลขนาดใหญ่สามารถเกิดสภาพขั้วชั่วขณะได้มากกว่า 
                      2.แรงระหว่างขั้วสำหรับโมเลกุลมีขั้วนอกจากจะมีแรงแผ่กระจายลอนดอนแล้ว ยังมีแรงดึงดูดที่เกิดจากสภาพของขั้วโมเลกุลด้วยโมเลกุลที่อยู่ใกล้กันจะหันส่วนของโมเลกุลที่มีขั้วตรงข้ามกันเข้าหากันเกิดเป็นแรงดึงดูดทางไฟฟ้าจากสภาพขั้วนี้โดยทั่วไปในระหว่างขั้วเพิ่มขึ้นตามสภาพขั้วของโมเลกุลที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
                      3.พันธะไฮโดรเจนเมื่อพิจารณาจุดเดือดของสารประกอบไฮโดรเจนกับธาตุหมู่ VIIA จะเห็นว่า HF มีจุดเดือดสูงกว่าสารประกอบอื่นทั้งที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุดซึ่งไม่เป็นไปตามแนวโน้มของขนาดโมเลกุลดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นแสดงว่า HF มีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมากกว่าสารประกอบของไฮโดรเจนกับธาตุหมู่ VIIA อื่นๆ ทั้งนี้เพราะผลต่างของค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีระหว่างไฮโดรเจนกับฟลูออรีนมีค่ามากทำให้กลุ่มหมอกอิเล็กตรอนอยู่ทางด้านอะตอมฟลูออรีนที่มีขนาดเล็กอย่างหนาแน่นอะตอมฟลูออรีนและไฮโดรเจนมีสภาพขั้วสูงกว่าในกรณีที่ HCl HBr และ HI มาก ทำให้มีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมากด้วยแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่เกิดขึ้นจากอะตอมไฮโดรเจนของโมเลกุลหนึ่งกับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวบนอะตอมของธาตุที่มีขนาดเล็กและมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงของอีโมเลกุลหนึ่งเรียกแรงดึงดูดนี้ว่า พันธะไฮโดรเจน

ข้อสอบ ONET