วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562

9#ส่งเสริมเกษตรกรเครือข่าย ทำเกษตรอินทรีย์ ผลผลิตปลอดภัย ได้คุณภาพสูง

ส่งเสริมเกษตรกรเครือข่าย ทำเกษตรอินทรีย์ ผลผลิตปลอดภัย ได้คุณภาพสูง


ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้ความสำคัญในการปรับปรุงบำรุงดิน โดยเชื่อว่า หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ ย่อมทำให้พืชและสัตว์ที่เจริญเติบโตจากผืนดินนั้น มีความอุดมสมบูรณ์ตามไปด้วย การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ยากำจัดศัตรูพืชและวัชพืช และไม่มีการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด แม้ว่าอาจจะส่งผลให้ได้ผลผลิตน้อยกว่า แต่เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเชื่อว่าผลผลิตมีคุณภาพสูงและปลอดภัยกับสุขภาพ

นายประวิทย์ สวรรคทัต เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มฯ กล่าวว่า ปัญหาทั่วไปของศูนย์ฯเขาชะงุ้ม คือบริเวณรอบศูนย์ฯเป็นดินลูกรัง ซึ่งทำประโยชน์อะไรไม่ค่อยดี ทางศูนย์ฯได้เข้าไปส่งเสริมการปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงดินแล้วก็ปุ๋ยหมัก วิธีการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักต่างๆ เพื่อจะทำให้ดินลูกรังมีคุณสมบัติดีขึ้นโครงสร้างของดินจะได้มีอินทรีย์วัตถุเพิ่มขึ้น แนวทางของศูนย์ฯที่เกษตรกรได้เข้าไปเรียนรู้ที่ศูนย์ฯ เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษหรือการปรับปรุงดิน อีกอย่างคือทางศูนย์ฯจะไม่ใช้ยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าหญ้าเพราะเป็นอันตรายกับเกษตรกรทั่วๆไป แต่จะแนะนำให้เปลี่ยนมาทำปุ๋ยหมัก เช่น พด.1 พด.2 พด.6 และพด.7 เพื่อจะลดการใช้สารเคมีให้กับเกษตรกร ลดต้นทุน เพื่อจะให้เกษตรกรนำตัวอย่างของทางศูนย์ฯ เช่น การปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการพังทลายของดินและการปรับปรุงดินเพราะว่าหญ้าแฝกมีประโยชน์อย่างมากมาย ควบคุมความชื้นในดินได้ รากของหญ้าแฝกจะหยั่งลงลึกเพื่อจะไปยึดไม่ให้ดินพังทลายได้ การที่เกษตรกร เช่น นางประเสริฐ จีนตุ้ม ได้นำวิธีปฏิบัติของทางศูนย์ฯมาใช้ในชีวิตประจำวันถือเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรรายอื่นได้เป็นอย่างดี ความสำเร็จของเกษตรกร ที่ได้รับความรู้จากศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถจะเป็นเกษตรกรต้นแบบ ที่นำพาเกษตรกรรายอื่นๆ หันมาทำเกษตรที่ปลอดจากสารเคมี เพื่อดินที่ดี ผลผลิตที่ดี และรายได้ที่ดีขึ้นตามลำดับ

นางประเสริฐ จีนตุ้ม ประธานกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเขาชะงุ้ม กล่าวว่า สมัยก่อนปลูกพืชเชิงเดี่ยวจะปลูกมันทั้งแปลง ปลูกอ้อยก็เป็นอ้อยทั้งแปลงเพราะว่าใช้ปุ๋ยเคมีแล้วก็ใช้ยาฆ่าแมลงอย่างหนักเพราะต้องการผลผลิตสูงๆ พอได้ผลผลิตสูงๆแล้วไม่ได้ยอดเงินตามเป้าหมายที่ต้องการเพราะต้องจ้างทุกอย่าง แรงงานก็ต้องจ้าง รถเข็นก็ต้องจ้าง ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงก็ต้องซื้อ เลยชวนพ่อกับแม่ปรับเปลี่ยนมาเป็นปลูกพืชผสมผสานตามแนวหลักของในหลวงเศรษฐกิจพอเพียงก็ปลูกทุกอย่างในแปลงจะมีผสมผสานกันหมด ในแปลงผักจะปลูกรวมกันเป็นผัก 3 ระดับ เป็นคะน้า กวางตุ้ง ผักใบเล็กๆ ระดับที่ 2 เป็นถั่วฝักยาว แตงกวา ที่มีอายุเก็บเกี่ยวเดือนหนึ่ง และระดับที่ 3 เป็นพวกมะเขือเปราะ มะเขือยาวจะเก็บเกี่ยวตลอดทั้งปี เราเข้าไปเรียนรู้ในศูนย์ฯ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่มาแนะนำที่บ้านถึงวิธีการทำปุ๋ยหมัก วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ ให้เรียนรู้การทำสารกำจัดแมลง ตนเคยไปดูแปลงผักของทางศูนย์ฯซึ่งเป็นดินลูกรังที่แย่กว่าบ้านเราอีก เขายังสามารถปลูกได้ โดยที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมี คือ ใช้ปุ๋ยหมักอย่างเดียว เราก็เลยนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการทำแปลงของเรา.
ที่มา : https://www.thairath.co.th

8#"เศรษฐกิจใหม่"ลุยฉะเชิงเทราต้านใช้ยาฆ่าแมลง หลังพบปชช.ตายด้วยโรคมะเร็ง

"เศรษฐกิจใหม่"ลุยฉะเชิงเทราต้านใช้ยาฆ่าแมลง หลังพบปชช.ตายด้วยโรคมะเร็ง


รักษาการหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ ควงเลขาพรรค-ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ ลงพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เร่งติดตามงานต่อต้านการใช้ยาฆ่าหญ้าหลังพบประชาชน 1 ใน 8 ต้องล้มตายด้วยโรคมะเร็ง เกิดจากการบริโภคพืชผักผลไม้ ที่สะสมดูดซึมเอาสารเคมียาฆ่าหญ้าและมาสะสมในร่างกาย พร้อมประกาศเดินหน้าทำงานตามนโยบายพรรคที่ให้ไว้ก่อนเลือกตั้ง ถึงแม้จะเป็นฝ่ายค้านก็ตาม
เมื่อวันที่ 28 ส.ค.62 นายสุภดิช อากาศฤกษ์ รักษาการหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ นายภาสกร เงินเจริญกุล เลขาธิการพรรคฯ พร้อมด้วย ดร.มนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ ได้เดินทางไปยังสำนักงานเกษตร อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งได้มีการอบรมเกษตรกร เพื่อให้ความรู้ในการใช้ยาฆ่าหญ้าให้เกิดอันตรายน้อยที่สุด โดยหลังจากผ่านการอบรมแล้ว เกษตรกรจะต้องทำแบบทดสอบความเข้าใจในการใช้ยาอันตรายดังกล่าว และเมื่อสอบผ่าน สำนักงานเกษตรอำเภอสนามชัยเขตจึงจะออกใบอนุญาตให้เกษตรกรสามารถนำไปซื้อและใช้ยาฆ่าหญ้าได้
สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ อ.สนามชัยเขต มีเกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้ทั้งสิ้นจำนวน 1,254 ราย โดยขณะนี้ได้ทำการอบรมและสอบผ่านไปแล้ว 97 ราย ซึ่งสำนักงานเกษตร อ.สนามชัยเขต จะต้องเร่งทำการอบรมให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 ตุลาคมนี้ ก่อนที่กฎหมายการบังคับใช้ยาฆ่าหญ้าจะประกาศใช้ โดยเกษตรกรที่เข้าอบรมต่างให้เหตุผลที่ยังจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าหญ้า ทั้งๆ ที่ก็รู้ว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค แต่ ณ ปัจจุบันยังไม่มีผลิตภัณฑ์ตัวอื่นมาแทนที่ในการกำจัดวัชพืช
นายสุภดิช อากาศฤกษ์ รักษาการหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ กล่าวว่า ในฐานะที่พรรคเศรษฐกิจใหม่เป็นผู้เปิดประเด็นและต่อต้านการใช้ยาฆ่าหญ้ามาโดยตลอด และถือเป็นนโยบายหนึ่งของพรรคฯ ก็คงต้องเดินหน้าหาทางแก้ไขและรณรงค์ให้เกษตรกรลด-เลิก การใช้ยาฆ่าหญ้ากันต่อไป
จากนั้นคณะ ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ ได้เดินทางต่อไปยัง ที่ทำการกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านยางแดง เพื่อเยี่ยมเยียนพี่น้องเกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านยางแดง ซึ่งมีสมาชิกกว่า 500 ครัวเรือน ที่ไม่ใช้สารเคมีเด็ดขาดในการทำการเกษตร หรือการทำเกษตรอินทรีย์ 100% นั่นเอง ซึ่งผลการปลูกพืชผักผลไม้ในพื้นที่ ก็ถือว่าได้ผลผลิตเป็นที่พอใจ พร้อมทั้งมีการรวมกลุ่มให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ และช่วยส่งเสริมด้านการตลาดของกลุ่มอีกด้วย ซึ่งหากพบว่าสมาชิกของกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านยางแดงคนไหนแอบใช้สารเคมี ก็จะถูกให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มทันที.
ที่มา : https://www.thairath.co.th

7#เถียง​กัน​ไม่​จบ​ผล​กระทบ​สาร​พารา​ค​วอ​ต

เถียง​กัน​ไม่​จบ​ผล​กระทบ​สาร​พารา​ค​วอ​ต


นาย​อุทัย นพคุณ​วงศ์ รอง​อธิบดี​กรม​วิชาการ​เกษตร กล่าว​ว่า หลังจาก​คณะ​กรรมการ​ขับเคลื่อน​ปัญหา​การ​ใช้​สาร​เคมี​ป้องกัน​กำจัด​ศัตรู​พืช​ที่​มี​ความ​เสี่ยง​สูง มี​มติ​เห็น​ชอบ​ให้​ยกเลิก​การ​ใช้​สาร​เคมี​กำจัด​ศัตรู​พืช​และ​แมลง 2 ชนิด คือ พารา​ค​วอ​ต และ​คลอ​ร์ไพ​ริ​ฟอส ส่วนไกลโฟเซต สั่ง​ให้​มี​ควบคุม​การ​ใช้ ภายใน​สิ้น​เดือน ธ.ค.2562 นั้น ได้​มี​การ​แต่งตั้ง​อนุกรรมการ​เฉพาะกิจ​พิจารณา​ควบคุม​วัตถุ​อันตราย​พารา​ค​วอ​ต คลอ​ร์ไพ​ริ​ฟอส และ​ไกล​โฟ​เซต ขึ้น​เพื่อ​หา​ข้อเท็จจริง​ด้าน​ผล​กระทบ​จาก​สาร​เคมี ซึ่ง​ปัจจุบัน​กำลัง​สรุป​ข้อมูล​จาก​ผู้​ที่​เกี่ยวข้อง​ทั้ง​ฝ่าย​ที่​เห็น​ด้วย​และ​ไม่​เห็น​ด้วย​กับ​การ​แบน​สาร​เคมี​ดัง​กล่าว​ภายใน​เดือน เม.ย.2561 เพื่อ​ยื่น​เสนอ​คณะ​กรรมการ​ขับเคลื่อน​ปัญหา​การ​ใช้​สาร​เคมี​ป้องกัน​กำจัด​ศัตรู​พืช​ที่​มี​ความ​เสี่ยง​สูง​ใน​เดือน พ.ค.2561 พิจารณา​ว่า​จะ​มี​มติ​ยกเลิก​การ​ใช้​สาร​เคมี​พารา​ค​วอ​ต​และ​ไกล​โฟ​เซต​หรือ​ไม่
“ข้อมูล​ผู้​ที่​ต้องการ​ใช้​พารา​ค​วอ​ต อ้าง​ว่าเดิม​ราคา​พารา​ค​วอ​ตอ​ยู่​ที่ 380 บาท​ต่อ​แกลลอน พอ​มี​ข่าว​จะ​แบน​สาร​เคมี​ก็​มี​การ​กักตุน​ราคา​เพิ่ม​กว่า 60% ซึ่ง​กระทบ​ต่อ​ต้นทุน​เกษตรกร​รายย่อย จำนวน​มาก โดยเฉพาะ​พืช​เศรษฐกิจ 6 ชนิด คือ ยางพารา อ้อย มัน​สำปะหลัง ปาล์ม​น้ำมัน ข้าวโพด​เลี้ยง​สัตว์ และ​ข้าวโพด​หวาน”
สำหรับ​ข้อมูล​ฝ่าย​ที่​ต้องการ​แบน​ระบุ​ว่า พารา​ค​วอ​ต​มี​ผล​ต่อ​โรค​พาร์​กิน​สัน​ใน​ทารก​ที่​อยู่​ใน​ครรภ์ และ​มี​ผล​ต่อ​โรค​เนื้อ​เน่า​นั้น​ยัง​ไม่​มี​ผล​วิจัย​ระบุ​ถึง​อันตราย​ชัดเจน ขณะ​ที่​สาร​เคมี​ที่​มี​ประสิทธิภาพ​เทียบเท่า​พารา​ค​วอ​ต​ซึ่ง​จะ​นำ​มา​ใช้​ทดแทน​ปัจจุบัน​ยัง​ไม่​มี อย่างไรก็ตาม​ หาก​ไม่​มี​การ​แบน​พารา​ค​วอ​ต กรม​วิชาการ​เกษตร​เตรียม​เสนอ​มาตรการ​ควบคุม​ไว้​แล้ว อาทิ กำหนด​ให้​จำหน่าย​ใน​ร้าน​จำหน่าย​ปัจจัย​การ​ผลิต​ทางการ​เกษตร​ที่​มี​คุณภาพ เป็นต้น.
ที่มา : https://www.thairath.co.th

ข้อสอบ ONET